Trending News

Blog Post

“ไอเรื้อรัง” ภัยเงียบที่สร้างความรำคาญ ปล่อยไว้อาจอันตรายกว่าที่คุณคิด
สุขภาพ-ความงาม

“ไอเรื้อรัง” ภัยเงียบที่สร้างความรำคาญ ปล่อยไว้อาจอันตรายกว่าที่คุณคิด 

“ไอเรื้อรัง” ภัยเงียบที่สร้างความรำคาญ ปล่อยไว้อาจอันตรายกว่าที่คุณคิด

อาการไอเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงกลุ่ม Angiotensin converting enzyme inhibitors (ACE inhibitors) เป็นระยะเวลานาน โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง แล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ การใช้เสียงมาก ทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง 

“ไอเรื้อรัง” ภัยเงียบที่สร้างความรำคาญ ปล่อยไว้อาจอันตรายกว่าที่คุณคิด

 การไอเรื้อรังประกอบด้วยสามระยะ เริ่มจากการหายใจเข้าเพื่อเพิ่มปริมาตรอากาศและแรงดันในช่องอกและท้อง ส่งผลให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อท้องทำให้เกิดการหายใจออกอย่างรวดเร็วพร้อมกับการเปิดของกล่องเสียง จึงเกิดเสียงไอพร้อมกับขับเอาสิ่งตกค้างในทางเดินหายใจออกมา

อาการไอ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ตามระยะเวลา ดังนี้

1. ไอเฉียบพลัน คือ มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์

2. ไอกึ่งเฉียบพลัน คือ อาการไอที่มีระยะเวลาระหว่าง 3-8 สัปดาห์

3. ไอเรื้อรัง คือ มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่าหรือเท่ากับ 8 สัปดาห์

“ไอเรื้อรัง” ภัยเงียบที่สร้างความรำคาญ ปล่อยไว้อาจอันตรายกว่าที่คุณคิด

“ไอเรื้อรัง” ภัยเงียบที่สร้างความรำคาญ ปล่อยไว้อาจอันตรายกว่าที่คุณคิด

ไอแบบไหนควรพบแพทย์

– ไอติดต่อกันมากกว่า 8 สัปดาห์

– อาการไอรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

– อาการไอที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีเลือดปน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หอบเหนื่อย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก

– ไอมีเลือดปนเสมหะ

– ไอจากการที่เคยสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค

– มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต หัวใจ เมื่อมีอาการไอควรรีบมาพบแพทย์

ไอเรื้อรังเป็นเวลานาน อาจเกิดให้เป็นโรคเหล่านี้

– วัณโรคปอด

– มะเร็งปอด

– ถุงลมโป่งพอง

– โรคหืด 

– โรคภูมิแพ้อากาศ

– กรดไหลย้อน

– ไซนัสอักเสบ 

– ภาวะทางเดินหายใจไวต่อสิ่งกระตุ้น

“ไอเรื้อรัง” รักษาให้หายได้ 

การรักษาไอเรื้อรังนอกจากจะรักษาตามสาเหตุของโรคแล้ว ยังต้องรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นควบคู่กัน ซึ่งนอกจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายเบื้องต้นเพื่อวินิจฉัยโรคแล้ว บางรายอาจต้องส่งตรวจยืนยันตามความเหมาะสม อาทิ ตรวจดูโพรงจมูก ลำคอ เอกซเรย์โพรงไซนัส เพื่อดูกลุ่มอาการไซนัส ส่งตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติของปอด ตรวจเสมหะ ตรวจสมรรถภาพปอด เพื่อดูโอกาสของหอบหืด เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก กรณีที่ตรวจพบความผิดปรกติจาก X-ray ปอด อาจต้องทำการส่องกล้องทางเดินหายใจ (Fiber Optic bronchoscopy) เพื่อยืนยันการวินิจฉัย

สำหรับที่มีอาการ “ไอเรื้อรัง” 3 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งถึงจะทานยาเเล้วอาการยังไม่ดีขึ้น เเนะนำว่าควรรีบไปพบเเพทย์โดยด่วน เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างเร่งด้วย เพราะว่าถ้าคุณปล่อยอาการ “ไอเรื้อรัง” เป็นเวลานาน คุณอาจจะพบกับโรคร้ายต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้น 

ที่มา:https://www.phyathai.com/article_detail/2954/th/_

Related posts

© Copyright 2018, All Rights Reserved