Trending News

Blog Post

"ภาวะลำไส้รั่ว" ภัยเงียบทำป่วยหลายโรค เช็คสัญญาณเตือนก่อนป่วยหนัก
สุขภาพ

"ภาวะลำไส้รั่ว" ภัยเงียบทำป่วยหลายโรค เช็คสัญญาณเตือนก่อนป่วยหนัก 

รู้จัก "ภาวะลำไส้รั่ว" ภัยเงียบทำป่วยซ้ำซ้อนหลายโรค เช็คอาการเบื้องต้น สัญญาเตือน และวิธีดูแลตัวเองก่อนป่วยหนักแบบไม่รู้ตัว

"ภาวะลำไส้รั่ว" (Leaky Gut Syndrome) หรือ ภาวะการดูดซึมของ ลำไส้ ผิดปกติ มีสาเหตุมาจากเยื่อบุผนังลำไส้ทำงานผิดปกติ โดยทั่วไปแล้วเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้จะเรียงติดกัน เพื่อป้องกัน คัดกรอง และควบคุมสารพิษ รวมทั้งเชื้อโรคที่จะเข้าสู่กระแสเลือดหากเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้อักเสบ แต่ "ภาวะลำใส้รั่ว" จะเกิดการปล่อยให้อาหารที่ยังย่อยไม่สมบูรณ์และของอันตรายอย่างสารพิษผ่านไป แต่เยื่อบุลำไส้ของคนที่มี อาการลำไส้รั่ว จะไม่เรียงอักเสบเสียหายและมีรูอยู่ระหว่างเซลล์ผนังลำไส้ ส่งผลให้ลำไส้ดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี
 

อาการของ "ภาวะลำไส้รั่ว" เนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้ด้วยตาว่าร่างกายกำลังเผชิญกับ "ภาวะลำไส้รั่ว" หากไม่ทำการตรวจวินิจฉัย เอ็กซเรย์อย่างละเอียด แต่หากเรากังเป็นภาวะดังกล่าว จึงสามารถสั่งเกต อาการลำไส้รั่ว ได้ดังนี้ 
 

  • ปวดศีรษะหรือปวดตามข้อต่าง ๆ
  • มีแก๊สในอวัยวะระบบทางเดินอาหารมากผิดปกติ
  • ไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิดได้ โดยเฉพาะอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
  • แพ้อาหารแฝง
  • ปวดท้องบ่อยๆ
  • ท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องผูก 1 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป
  • ท้องอืดอาหารไม่ย่อยเป็นประจำ
  • เหนื่อยง่าย และอ่อนเพลียแม้ว่าจะแพ้ได้รับการผ่อนอย่างเพียงพอ
  • มีผื่นคัน
  • น้ำหนักขึ้นผิดปกติ
  • มือและเท้าเย็น

ผลข้างเคียงจาก "ภาวะลำไส้รั่ว" คือร่างกายจะได้รับสารอาหารได้น้อยลง ในผู้ป่วยบางรายเริ่มขาดสารอาหาร ร่างกายยังเกิดการอักเสบมากขึ้น เพราะได้รับสารพิษและสารก่อความอักเสบสะสม หากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานจะเกิดความผิดปกติในส่วนอื่นๆ ของร่างกายตามมา หรืออาจเกิดโรค ทั้งนี้ "ภาวะลำไส้รั่ว" อาจเป็นต้นเหตุของอาการต่อไปนี้

  • ความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องผูก อาหารไม่ย่อย
  • ลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • ระบบเผาผลาญเสียหาย น้ำหนักขึ้นได้ง่าย เสี่ยงโรคเบาหวานและโรคอ้วน
  • สิวอักเสบเรื้อรัง
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดตามตัวและข้อ
  • ภาวะภูมิแพ้ตัวเอง หรือโรคเซลิแอค
  • อาการแพ้อาหาร
  • ภาวะขาดสารอาหาร

 

การรักษา "ภาวะลำไส้รั่ว" สามารถรักษาให้หายได้ทั้งการพบแพทย์ และดูแลตัวเอง โดยเฉพาะการปรับรูปแบบการรับประทานอาหาร งดอาหารบางประเภท เพื่อรักษาสมดุลของ ลำไส้ ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้
 

  • ลดการรับประทานแป้ง และน้ำตาลขัดขาว
  • เลือกรับประทานข้าวไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีท และน้ำตาลทรายแดง
  • รับประทานอาหารให้หลากหลายขึ้น เพื่อลดการได้รับสารเคมีชนิดเดียวนานๆ
  • เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ และดื่มน้ำให้มากขึ้น
  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

ขอบคุณข้อมูล : petcharavejhospita,Bluzone

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w

Related posts

© Copyright 2018, All Rights Reserved