Trending News

Blog Post

เป็นห่วง "นุ้ย เชิญยิ้ม" หาหมอ อาการกระดูกคอเสื่อม
บันเทิงไทย

เป็นห่วง "นุ้ย เชิญยิ้ม" หาหมอ อาการกระดูกคอเสื่อม 

ล่าสุด นุ้ย เชิญยิ้ม ต้องเดินทางเข้าพบหมอเพิ่มเติม เพื่ออัปเดตอาการกระดูกคอเสื่อม ซึ่งก่อนหน้านี้ นุ้ย เชิญยิ้ม ได้ออกมาโพสต์ภาพขณะเดินทางไปโรงพยาบาล พร้อมกับบอกเล่าว่า “หมอนรองกระดูกคอข้อที่ 4-6 อักเสบ”

ก่อนหน้านี้ นักแสดงตลก นุ้ย เชิญยิ้ม ได้ออกมาโพสต์ภาพขณะเดินทางไปโรงพยาบาล ผ่านทางไอจีส่วนตัว พร้อมกับข้อความเล่าว่า “หมอนรองกระดูกคอข้อที่ 4-6 อักเสบ ทำให้กลับมาปวดอีกแล้ว นอนปวดกระดูกปวดคอ ร้าวไปถึงก้านสมอง กะบอกตาซ้ายแดงกล่ำเลย กำลังเดินทางไป ร.พ. ขอบคุณ น้องตันตัน เชิญยิ้ม ที่มาช่วยขับรถไปส่งพี่ #ไม่รู้จะเจอหมอหรือป่าวไม่ได้นัดไว้ #ไม่ผ่า #กินยาบรรเทาไป” ล่าสุด นุ้ย อัพเดตอาการอีกครั้งว่า “วันนี้คุณหมอนัดดูอาการหมอนรองกระดูกคอเสื่อมทรุด หลังจากหมอเช็คอาการแล้วบอกว่ายังไม่ต้องผ่าครับ ขอขอบคุณ คุณหมอวศินเอาแสงดีกุล แพทย์ผู้เเชียวชาญศัลยกรรม ระบบประสาท กระดูกสันหลัง ที่ให้คำแนะนำครับ🙏❤️🙏”

งานนี้ก็มีแฟนๆ เข้ามาคอมเมนต์อวยพร ให้กำลังใจนุ้ยจำนวนมาก รวมถึงพี่น้องในวงการบันเทิง อาทิ nulek_gaga“หายเร็วๆนะคะพี่❤️❤️❤️”, nickynachat “หายไวๆครับ อาจารย์”, ice_napatcharin “หายไวไวนะคะ✌🏼”, amp_pheerawas_k “ขอให้พี่แข็งแรงๆนะครับ❤️” และ aanan_boonnak “หายไวๆนะครับ” เป็นต้น และเมื่อพูดถึงโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม จริงๆแล้วโรคนี้ สามารถ “หายได้” โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ซึ่งหมอนรองกระดูกคอจะคั่นอยู่ระหว่างปล้องกระดูกคอที่จะมีประมาณทั้งหมด 7 ปล้อง มีหน้าที่ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวกระดูกคอ ทำให้มนุษย์เราสามารถก้มหรือเงยคอได้ เมื่อเราใช้ไปนานๆ หรือใช้ไม่ถูกต้องก็จะทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้

 

เป็นห่วง "นุ้ย เชิญยิ้ม" หาหมอ อาการกระดูกคอเสื่อม

 

 

พฤติกรรมเสี่ยงที่จะเป็นหมอนรองกระดูกคอเสื่อมเร็วของคนในปัจจุบัน ได้แก่

พนักงานออฟฟิศที่ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งวัน คนที่จดจ่อใช้มือถือสมาร์ทโฟนแบบหนักหน่วง คนทำงานห้องแล็บที่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์บ่อยๆ คนทำงานฝีมือก้มๆ เงยๆ ต่างๆ พฤติกรรมเหล่านี้จะยิ่งเร่งให้หมอนรองกระดูกคอของเราเสื่อมไวกว่าปกติ ส่วนมากโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมจะพบในคนที่อายุประมาณ 40 ปี ขึ้นไป และมักจะเป็นบริเวณปล้องที่ 5 ต่อ 6 รองลงมา คือ ปล้องที่ 6 ต่อ 7

 

เมื่อมีการเสื่อมหรือแตกของหมอนรองกระดูก

ก็จะมีโอกาสเกิดการกดทับที่ประสาทไขสันหลังและรากประสาทได้ ทำให้เกิดอาการปวดคอร้าวมาที่แขน หากเป็นมากๆ หรือมีการกดทับเส้นประสาทมากๆ ก็จะทำให้เกิดอาการแขนอ่อนแรง ชาบริเวณปลายนิ้ว เป็นต้น

 

การที่เราสะบัดคอแล้วมีเสียงดังกร็อบแกร็บ คือ อาการของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมหรือไม่?

ต้องบอกว่าไม่ใช่ โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมส่วนใหญ่จะไม่มีเสียง หากเราสะบัดแล้วมีเสียงกร็อบแกร็บแต่ไม่มีอาการปวดใดๆ ก็ไม่น่าจะมีผลขนาดต้องทำการรักษา ซึ่งเสียงที่ว่า คือ เสียงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมากกว่า แต่โดยปกติแล้วการสะบัดคอให้มีเสียงดังๆ นั้น แพทย์แนะนำว่า “ไม่ควรทำ” เพราะมีผลทำให้ข้อต่อบริเวณคอเสื่อมเร็วได้เช่นกัน เกิดจากการทำงานที่หนักเกินไปเวลาเราสะบัดแรงๆ

 

การรักษาโดยทั่วไปของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

จะเป็นการชะลอไม่ให้มันเสื่อมไวขึ้น ส่วนใหญ่คนไข้จะมาด้วยอาการปวดบริเวณต้นคอถึงสะบัก แพทย์จะให้ทานยาลดการอักเสบ การนอนพัก กายภาพบำบัด ประคบด้วยน้ำร้อน การบริหาร อาการปวดเหล่านี้ก็จะสามารถหายได้เองส่วนการผ่าตัดโดยใช้หมอนรองกระดูกเทียมนั้น ปัจจุบันก็มีการผ่าตัดอยู่เหมือนกันแต่ให้ผลได้ไม่ดีเท่าที่ควร การผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมที่จำเป็นต้องทำ คือ หมอนรองกระดูกมีการแตกและกดทับบริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งโชคดีหน่อยที่เราพบได้ค่อนข้างน้อยมาก

 

เป็นห่วง "นุ้ย เชิญยิ้ม" หาหมอ อาการกระดูกคอเสื่อม

 

เป็นห่วง "นุ้ย เชิญยิ้ม" หาหมอ อาการกระดูกคอเสื่อม

 

เป็นห่วง "นุ้ย เชิญยิ้ม" หาหมอ อาการกระดูกคอเสื่อม

 

เป็นห่วง "นุ้ย เชิญยิ้ม" หาหมอ อาการกระดูกคอเสื่อม

 

เป็นห่วง "นุ้ย เชิญยิ้ม" หาหมอ อาการกระดูกคอเสื่อม

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

รศ. นพ.วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ

หัวหน้าหน่วยกระดูกสันหลัง ภาควิชาออโธปิดิกส์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

Related posts

© Copyright 2018, All Rights Reserved