Trending News

Blog Post

รู้จัก "ไซบูทรามีน" สารใน ยาลดความอ้วน ภัยร้าย จากการ ลดน้ำหนัก
ความรู้ทั่วไป

รู้จัก "ไซบูทรามีน" สารใน ยาลดความอ้วน ภัยร้าย จากการ ลดน้ำหนัก 

รู้จัก "ไซบูทรามีน" Sibutramine สารใน ยาลดความอ้วน คืออะไร ลดน้ำหนัก หรือ เพิ่มอัตราการเสียชีวิต ทำไมถึงเป็น สารต้องห้าม

จากกรณีที่นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ยื่นหนังสือ เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษ ต่อตำรวจ บก.ปคบ. เพื่อดำเนินคดีอาญากับบริษัทแห่งหนึ่ง และบุคคลอื่น ๆ ซึ่งใช้ข้อความอันเป็นเท็จ อ้างว่า ลงทุน 6,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ได้เงิน 15 ล้านบาท รวมถึงระบุด้วยว่า บริษัทดังกล่าว เคยถูกตำรวจ บก.ปคบ.จับกุมคดีขายยาลดความอ้วน ที่ใส่สารต้องห้าม คือ ไซบูทรามีน ซึ่งจัดเป็นยาอันตรายที่มีผลข้างเคียงรุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต คมชัดลึกออนไลน์ จะพาไปรู้จักสาร "ไซบูทรามีน" อันตรายแค่ไหน ทำไมถึงจัดเป็นภัยร้ายจากการ ลดน้ำหนัก
 

"ไซบูทรามีน" (Sibutramine) มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ลดการทำลายสารสื่อประสาทอย่าง ซิโรโทนิน, นอร์อีพิเนฟริน และโดปามีน ทำให้สารเหล่านี้ทำงานนานขึ้น จึงส่งผลทำให้มีความรู้สึกไม่หิว หรืออิ่มเร็วขึ้น ใช้เป็นยาที่ใช้รักษาโรคอ้วน หรือโรคอื่นที่มีสาเหตุมาจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป จัดเป็นยาอันตรายที่มีผลข้างเคียงรุนแรง และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หายใจลำบาก เพิ่มเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น 

 

 

อันตรายของไซบูทรามีน

 

ไซบูทรามีนจะเข้าไปยับยั้งการหลั่งของสารเคมีภายในร่างกาย ส่งผลให้ไม่อยากอาหาร และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว เวียนหัว ปากแห้ง ท้องผูก นอนไม่หลับ คัดจมูก น้ำมูกไหล มีไข้ อยากอาหาร เวียนศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการใช้ไซบูทรามีนเท่านั้น

ยาลดความอ้วน

ทั้งนี้ การใช้ไซบูทรามีนอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต หากมีโรคประจำตัว และกำลังใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะโรคและยาต่อไปนี้

 

  • โรคหัวใจ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคตับ
  • โรคต้อหิน
  • โรคไต
  • ภาวะซึมเศร้า
  • โรคลมชัก
  • ภาวะเลือดไหลผิดปกติ
  • โรคนิ่วในถุงน้ำดี
  • ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis)
  • โรคไทรอยด์
  • ภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงหรือชนิดที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • ผู้ที่กำลังใช้ยาต้านเศร้า ยาแก้แพ้ ยาแก้ปวด ยาแก้หวัด ยารักษาไมเกรน ยาเสพติด และยากระตุ้นความอยากอาหาร
  • หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่กำลังให้นมบุตร ผู้สูงอายุ และเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยานี้เช่นกัน

 

 

นอกจากนี้ ยาชนิดนี้ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคอื่น เช่น โรคคลั่งผอม (Anorexia) ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคจิต ภาวะอารมณ์ดีกว่าปกติ (Mania) ภาวะซึมเศร้า และเกิดความคิดอยากฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตายได้ ดังนั้น หากพบสัญญาณใดสัญญาณหนึ่งในข้างต้น หรืออาการอื่นหลังจากใช้อาหารเสริมที่ช่วยลดน้ำหนัก ควรไปพบแพทย์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

ลดความอ้วน

 

ไซบูทรามีนเป็นยาที่มีฤทธิ์รุนแรง ปัจจุบันยานี้เป็นยาผิดกฎหมาย ห้ามนำเข้าหรือจำหน่ายในประเทศไทย แต่มักมีการลักลอบนำไปผสมในอาหารเสริมที่ช่วยลดน้ำหนัก หรือยาลดความอ้วน แล้วนำไปโฆษณาจนเกินความเป็นจริง จึงอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ดังนั้น หากใครกำลังใช้อาหารเสริม หรือสมุนไพรที่ช่วยลดน้ำหนัก ควรศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ และเรียนรู้ถึงวิธีสังเกตอาการที่เกิดจากฤทธิ์ยาชนิดนี้ไว้ เพื่อความปลอดภัย

 

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศฯ กำหนดให้ไซบูทรามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2561 เป็นต้นไป ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีไซบูทรามีนเป็นส่วนผสม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 5 แสนบาท – 2 ล้านบาท ผู้ใดขาย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 4 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 4 แสนบาท – 2 ล้านบาท ผู้ใดครอบครองจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาท – 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมไปถึงผู้ที่บริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นความผิดด้วย โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

 

 

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube – https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday – https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote 

https://newsth.asia/entertainment/524524

Related posts

© Copyright 2018, All Rights Reserved