Trending News

Blog Post

"ติดโควิด" เปิด แนวทางรักษา หลังเป็น โรคติดต่อเฝ้าระวัง ไป ทำงาน ต้องทำไง
อัพเดตสถานการณ์

"ติดโควิด" เปิด แนวทางรักษา หลังเป็น โรคติดต่อเฝ้าระวัง ไป ทำงาน ต้องทำไง 

กระทรวงสาธารณสุข เปิด แนวทาง "รักษาโควิด" หลังเป็น โรคติดต่อเฝ้าระวัง "ติดโควิด" ไม่มีอาการ หากจำเป็นต้องไปทำงาน ให้ สวมแมสก์ 2 ชั้น

หลังจากกระทรวงสาธารณสุข ปรับลดมาตรการป้องกันควบคุมโรค "โควิด" จากโรคติดต่ออันตราย ซึ่งประกาศมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เป็น "โรคติดต่อเฝ้าระวัง" เนื่องจากสถานการณ์การระบาดในประเทศดีขึ้น กล่าวคือแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และอัตราการเสียชีวิตลดลง และความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด อยู่ในระดับสูง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นมา 

 

 

 

(5 ต.ค.2565) นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวเรื่อง “ติดโควิด 19 แนวทางการรักษาทุกกลุ่มวัย” ว่า ขณะนี้โรคโควิด19 มีความรุนแรงลดลง จำนวนผู้ป่วยอาการหนักและเสียชีวิตลดลงต่อเนื่อง วันนี้ผู้เสียชีวิตต่ำกว่าหลักสิบราย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว ไม่ได้รับวัคซีน หรือรับวัคซีนไม่ครบตามกำหนด จึงต้องขอย้ำว่า ควรไปรับวัคซีนอย่างน้อย 4 เข็ม จะช่วยลดความรุนแรงจากการติดโควิดได้

 

 

นพ.ธงชัย กล่าวต่อว่า สำหรับการตรวจ ATK ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกวัน ควรตรวจเมื่อมีอาการเข้าข่ายสงสัย เช่น ครั่นเนื้อครั่นตัว ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูกเป็นต้น หากผลเป็นบวกแต่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย เช่น เจ็บคอเล็กน้อย ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก หรือมีไข้ต่ำ ๆ ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาต้านไวรัสและอาจรับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ลดน้ำมูก ยาแก้ไอ ลดเสมหะ ดื่มน้ำอุ่น พักผ่อนมาก ๆ แนะนำให้แยกตัวเอง 5 วัน แต่หากจำเป็นต้องออกจากบ้าน หรือไปทำงาน ให้ปฏิบัติตามมาตรการ DMH 100% คือ ใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างจากคนอื่น แต่หากมีอาการไอมาก ไอบ่อย ไอถี่ หรือมีน้ำมูกมาก ขอให้หยุดงาน และงดเดินทาง 5 วัน เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการแพร่กระจายเชื้อ แต่หากมีอาการรุนแรงขึ้น ได้แก่ 

  • วัดไข้ได้ 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป อย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 4 ชั่วโมงใน 1 วัน 
  • วัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดได้ต่ำกว่า 94% 
  • มีภาวะแทรกซ้อนหรือการกำเริบของโรคประจำตัว 
  • มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง  
  • มีภาวะอื่นๆ ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 
  • ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการซึม กินได้น้อย มีภาวะขาดน้ำจากอุจจาระร่วงหรือชักจากไข้สูง เป็นต้น ขอให้รีบไปพบแพทย์

 

 

“หากผลตรวจเป็นลบ ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ อาจจะสวมหน้ากากอนามัยป้องกันตนเอง 2-3 วัน ถ้ามีอาการค่อยตรวจ ATK ซ้ำ สำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ติดเชื้อ แนะนำว่ายังจำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ โดยการสวมหน้ากากอนามัยให้ประเมินตามความเสี่ยง” นพ.ธงชัยกล่าว

 

นพ.ธงชัย กล่าวอีกว่า แนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิด19 หากไม่มีอาการ จะรักษาแบบผู้ป่วยนอก ไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส ให้ปฏิบัติตาม DMH อย่างเคร่งครัด 5 วัน, กรณีมีอาการเล็กน้อย หรือเอกซเรย์ปอดปกติ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง หรือโรคร่วมที่สำคัญ ให้รักษาแบบผู้ป่วยนอก อาจพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจร หรือฟาวิพิราเวียร์ ตามดุลยพินิจของแพทย์ ปฏิบัติตาม DMH เคร่งครัด 5 วัน, หากมีปัจจัยเสี่ยง หรือโรคร่วมสำคัญ อาจมีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย หรือไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลาง แพทย์จะพิจารณาให้ยาแพกซ์โลวิด หรือ เรมดิซิเวียร์ หรือ โมลนูพิราเวียร์ และหากมีปอดอักเสบต้องให้ออกซิเจน หรือความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 94% ให้รักษาแบบผู้ป่วยใน โดยแพทย์จะให้ยาเรมดิซิเวียร์ 

 

ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และหญิงตั้งครรภ์ หากไม่มีอาการ หรืออาการเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส แต่หากมีปัจจัยเสี่ยง แพทย์จะพิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์ หรือเรมดิซิเวียร์ หรือหากมีปอดอักเสบ จะให้ยาเรมดิซิเวียร์ สำหรับใบรับรองแพทย์เพื่อหยุดงาน หรือยื่นเคลมประกัน กรณีผู้ป่วยนอก แพทย์จะออกใบรับรองให้ 5 วัน ส่วนกรณีผู้ป่วยใน ซึ่งอาจจะรักษานานกว่า 5 วัน แพทย์จะออกใบรับรองแพทย์ตามระยะเวลาที่รักษา

 

 

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube – https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday – https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

Related posts

© Copyright 2018, All Rights Reserved