Trending News

Blog Post

"ฤดูหนาว 2565" มาเมื่อไหร่ ปีนี้มาช้า เช็คคาดการณ์อุณหภูมิรายภาคที่นี่
สังคม

"ฤดูหนาว 2565" มาเมื่อไหร่ ปีนี้มาช้า เช็คคาดการณ์อุณหภูมิรายภาคที่นี่ 

กรมอุตุฯ คาดการณ์ "ฤดูหนาว 2565" มาเมื่อไหร่ ปีนี้มาช้า แต่มาแล้วหนาวเย็นกว่าปีที่ผ่านมา เช็คแต่ละภูมิภาคคาดการณ์อุณภูมิต่ำสุดกี่องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศช่วง "ฤดูหนาว 2565" ของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า บริเวณประเทศไทยตอนบน "ฤดูหนาว 2565"  จะเริ่มต้น ประมาณต้นสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนตุลาคม 2565 ซึ่งจะช้ากว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณ 1 สัปดาห์และจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2566อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบน 20 – 21 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสูงกว่าค่าปกติประมาณประมาณ 0.5 ซ. (ค่าปกติ 19.9 ซ.) และจะมีอากาศหนาวเย็นมากกว่าปีที่ผ่านมา (อุณหภูมิต่่าสุดเฉลี่ยปีที่ผ่านมา 21.0 ซ.) 

กรมอุตุฯ ระบุต่อว่า สำหรับ "ฤดูหนาว 2565" จะมี อุณหภูมิต่ำที่สุด 8 – 9 ซ. ส่วนมากจะอยู่ตอนบนของทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอุณหภูมิต่ำที่สุดบริเวณกรุงเทพมหานคร 17 – 18 และปริมณฑล 15 – 16 ซ. ช่วงเวลาที่จะมีอากาศหนาวเย็นที่สุด จะเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2565 ถึงปลายเดือนมกราคม 2566 สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูรวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและจะมีน้่าค้างแข็งเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

สำหรับ รายละเอียด "ฤดูหนาว 2565" ตามภาคต่างๆ
 

ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางแห่งในบางวันทางตอนบนของภาค และมีหมอกในตอนเช้า โดยจะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่ และอาจมี
ลมกระโชกแรงบางแห่งในบางวันสำหรับช่วงเดือนธันวาคมปลายเดือนมกราคม อากาศจะหนาวเย็นมากขึ้น  โดยมีอากาศหนาวเย็นเกือบทั่วไป สำหรับบริเวณยอดดอย ยอดภู รวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และเกิดน้ำค้างแข็งขึ้นได้ในบางช่วงส่วนช่วงตันและกลางเดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะอากาศจะแปรปรวน โดยอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้นและมีฝนบางแห่งในบางวัน กับมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ โดยยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า และจะมีอากาศร้อน หลายพื้นที่ในตอนกลางวัน

ภาคกลางและภาคตะวันออก
ช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีอากาศเย็นบางแห่งในบางวันทางตอนบนของภาค กับมีหมอกในตอนเช้า โดยจะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 30 ของพื้นที่ และอาจลมกระโชกแรงบางแห่งในบางวัน สำหรับช่วงเดือนธันวาคมปลายเดือนมกราคม จะมีอากาสเย็นเกือบทั่วไป และมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ ในบางช่วง โดยเฉพาะตอนบนของภาคและบริเวณเทือกเขา กับจะมีหมอกหนาหลายพื้นที่ในบางช่วง ส่วนช่วงต้นและกลางเดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะอากาศจะแปรปรวน โดยอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้น และมีฝนบางแห่งในบางวัน โดยมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในตอนกลางวัน กับมีหมอกหนาหลายพื้นที่ แต่สำหรับทางตอนบนของภาคและบริเวณเทือกเขายังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย)
ช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนมกราคม จะมีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบทั่วไป โดยเฉพาะตั้งแต่จังหวัด
ชุมพรลงไป จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำลันลิ่งได้ในบางแห่ง สำหรับคลื่นลมจะมีกำลังแรง จะมีคลื่นสูง 2 – 4 เมตรในบางช่วงตั้งแต่กลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ฝนจะลดลง เว้นแต่ทางตอนล่างของภาค ยังคงมีฝนร้อยละ 30 – 40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในบางวัน

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก (ฝั่งทะเลอันดามัน)
ในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ กับมีฝน
หนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร
ตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง โดยมีฝนร้อยละ
10 – 20 ของพื้นที่

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีอากาศเย็นในบางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20
ของพื้นที่สำหรับช่วงเดือนธันวาคมปลายเดือนมกราคม จะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับจะมีหมอกหนาในบางช่วงส่วนช่วงต้นและกลางเดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะอากาศจะแปรปรวน อากาศจะอุ่นขึ้น และมีฝนในบางวัน
โดยจะมีอากาศเย็นในบางวัน กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน

 

สำหรับเกณฑ์อุณหภูมิต่ำสุดในช่วงฤดูหนาว

  • อากาศเย็น หมายถึง 16.0-22.9 องศาเซลเซียส
  • อากาศหนาว หมายถึง 8.0-15.9 องศาเซลเซียส
  • อากาศหนาวจัด หมายถึง ต่ำกว่า 8.0 องศาเซลเซียส

 

การคาดหมายนี้เป็นการคาดหมายระยะนาน โดยใช้วิธีทางสถิติและวิเคราะห์จากแบบจำลองภูมิอากาศ และการคาดหมายนี้จะมีการปรับปรุงในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม 2565

 

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube – https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday – https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

Related posts

© Copyright 2018, All Rights Reserved