| On 2 years ago

สรรพคุณและประโยชน์ของสับปะรดที่ดีต่อสุขภาพและช่วยป้องกันโรคต่างๆ

วิตามินซีสูง

สารอาหารที่โดดเด่นในสับปะรดคือ วิตามินซี ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระ และสร้างคอลลาเจนในชั้นผิว ต่อต้านหวัด เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

ย่อยอาหาร

สับปะรดมีกลุ่มเอนไซม์ย่อยอาหารที่เรียกว่าโบรมีเลน (Bromelain) ทำหน้าที่สร้างกรดอะมิโนและเปปไทด์ขนาดเล็ก ที่ช่วยย่อยโปรตีน และให้ดูดซึมผ่านลำไส้เล็กได้สะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีแมงกานีสสูง มีส่วนช่วยในการเผาผลาญอาหาร ทำให้เลือดแข็งตัว และช่วยให้กระดูกแข็งแรง

ลดน้ำหนัก

น้ำสับปะรดมีส่วนช่วยลดการสร้างไขมันและเพิ่มการสลายไขมันได้ มีแคลอรีต่ำ 

นักโภชนาการในมิชิแกน กล่าวว่า ในสับปะรดนั้นเต็มไปด้วยไฟเบอร์ที่สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้รู้สึกอิ่มได้นาน

ลดการอักเสบ

สับปะรดมีโบรมีเลน เอนไซม์ย่อยอาหารที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ และบรรเทาอาการปวด ช่วยลดอัตราการเกิดโรคไซนัสอักเสบ โรคข้อเข่าเสื่อม

มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

สับปะรดมีสารประกอบโบรมีเลน ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม มะเร็งในผิวหนัง ท่อน้ำดี ระบบย่อยอาหาร และลำไส้ใหญ่

ช่วยลดความเครียด

สับปะรดมีเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดความเครียด ช่วยให้ฮอร์โมนและเส้นประสาทของคุณผ่อนคลาย การดื่มน้ำสับปะรดจะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น

ลดความดันโลหิตสูง

การบริโภคผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น สับปะรด สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้

บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส

สับปะรดมีวิตามินซีสูง ซึ่งมีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ และความเสียหายของผิวที่เกิดจากแสงแดด และมลภาวะต่างๆ สร้างคอลลาเจน และลดเลือนริ้วรอยและความแก่ชรา

การรับประทานสับปะรดหลังมื้ออาหารจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร ซึ่งการรับประทานสับปะรดอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองเล็กน้อยภายในปาก ริมฝีปาก และลิ้นได้  แต่ไม่ควรรับประทานในขณะท้องว่าง เนื่องจากสับปะรดมีความเป็นกรดและมีเอนไซม์บรอมมีเลนหากรับประทานขณะท้องว่างจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้ สำหรับผู้ที่แพ้พืชในตระกูลเดียวกับสับปะรดควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน