Trending News

Blog Post

จัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ "วราวุธ"เดินหน้า มาเรียมโปรเจค เผย พะยูนในธรรมชาติเพิ่ม
ประชาสัมพันธ์

จัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ "วราวุธ"เดินหน้า มาเรียมโปรเจค เผย พะยูนในธรรมชาติเพิ่ม 

    กระแสต่อเนื่องด้านการอนุรักษ์พะยูน นับตั้งแต่สูญเสีย “น้องมาเรียม” เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2562 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เสนอให้วันที่ 17 สิงหาคม ของทุกปีเป็น “วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ” สำหรับปีนี้ (2565) ได้มีการจัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ (ThailandDugong&SeagrassWeek2022) เป็นครั้งแรก 

  ด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานเปิดงานและร่วมเป็นสักขีพยานลงนามจัดตั้งสถาบันวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พะยูนและสัตว์ทะเลหายาก โดยความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง  หวังเพิ่มจำนวนพะยูนในธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง พร้อมเผยผลงานจำนวนพะยูนในธรรมชาติเพิ่มขึ้นหลังเดินหน้าแผนอนุรักษ์พะยูนจริงจัง

จัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ "วราวุธ"เดินหน้า มาเรียมโปรเจค เผย พะยูนในธรรมชาติเพิ่ม

   นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า ตนคงจะต้องตอกย้ำให้กับสังคมในสิ่งที่เป็นบทเรียนที่หลายคนยังจดจำกันไม่ลืม นับตั้งแต่เราได้สูญเสียพะยูน“มาเรียม”เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2562 จนกลายเป็นกระแสสังคมดังไปทั่วโลก จนถึงวันนี้ (17 สิงหาคม 2565) ก็ครบ 3 ปี พอดี

จัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ "วราวุธ"เดินหน้า มาเรียมโปรเจค เผย พะยูนในธรรมชาติเพิ่ม

  ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่เคยหยุดทำงานเพื่อแก้ไขและฟื้นฟูเพิ่มจำนวนพะยูนรวมถึงสัตว์ทะเลหายากในท้องทะเลไทย บทเรียนจากเศษขยะทะเลเพียงไม่กี่ชิ้นที่สร้างความสูญเสียอันใหญ่หลวงจนประเมินค่าไม่ได้ ต่อยอดสู่การอนุรักษ์สัตว์ป่าและสัตว์ทะเลหายากภายใต้ “มาเรียมโปรเจค”ผลความสำเร็จเราสามารถเพิ่มจำนวนเพิ่มจำนวนพะยูนในธรรมชาติจาก 250 ตัว เป็น 265 ตัว 

 

 

   และตั้งเป้าหมายไว้ที่ 280 ตัว โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดตรังที่นับว่าเป็นแหล่งพะยูนและหญ้าทะเลที่สมบูรณ์และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สำหรับการดำเนินงานที่ผ่านมา ตนต้องขอชื่นชมกับพี่น้องประชาชนในจังหวัดตรัง นักท่องเที่ยว และภาคส่วนต่างๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน แก้ไขปัญหาครอบคลุมทุกมิติตั้งแต่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และจัดการปัญหาขยะทะเลตั้งแต่ต้นทางก่อนลงสู่ทะเล ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการจัดการแบบเต็มรูปแบบ และที่สำคัญวันนี้ ตนต้องขอขอบคุณสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ที่ร่วมกันจัดตั้งสถาบันวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พะยูนและสัตว์ทะเลหายาก เพื่อช่วยรักษา ดูแล อนุรักษ์และฟื้นฟูจำนวนพะยูนพื้นที่อำเภอปะเหลียน อำเภอหาดสำราญ อำเภอย่านตาขาว อำเภอกันตัง และอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง และพื้นที่ใกล้เคียง 

   สุดท้าย ตนอยากจะฝากถึงพี่น้องประชาชน “วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ 17 สิงหาคม ของทุกปี เราจะมาร่วมกันแสดงความยินดีถึงความสำเร็จจากความร่วมมือของเราทุกฝ่ายที่ช่วยกันทำให้จำนวนพะยูนในธรรมชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีเรายังเพาะพันธุ์พะยูนเองไม่ได้ แต่เรารักษาระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมให้พะยูนได้อาศัยและเพิ่มจำนวนโดยธรรมชาติได้ ซึ่งต้องช่วยกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อความสมบูรณ์ของท้องทะเลและลูกหลานของเราในอนาคต”

 

   สำหรับการขยายผลภายใต้โครงการมาเรียมโปรเจค กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังคงมีแผนยกระดับเพื่อดูแลสัตว์ป่าและสัตว์ทะเลหายากอื่นๆ โดยได้มอบหมายนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงฯ  และเร่งหาพันธมิตรในการร่วมกันดำเนินการเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน “นายวราวุธ กล่าว”

จัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ "วราวุธ"เดินหน้า มาเรียมโปรเจค เผย พะยูนในธรรมชาติเพิ่ม
ด้าน นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้จัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ (ThailandDugong&SeagrassWeek2022) ระหว่างวันที่ 17 – 23 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมใหญ่ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา อ.เมือง จ.ตรัง โดยกิจกรรมภายในงานจะมุ่งเน้นการให้ความรู้ทางวิชาการ การถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ต่างๆ

จัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ "วราวุธ"เดินหน้า มาเรียมโปรเจค เผย พะยูนในธรรมชาติเพิ่ม

เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของภาคส่วนต่า ๆ ได้เห็นความสำคัญและเข้ามาร่วมแสดงบทบาทร่วมกันอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะ “พะยูน”ของไทย ซึ่งคาดว่าการจัดงานจะมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า1,000 คน นอกจากนี้ กรม ทช. ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พะยูนและสัตว์ทะเลหายาก ณ อ่าวสิเกา จังหวัดตรัง ร่วมกับสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง 

จัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ "วราวุธ"เดินหน้า มาเรียมโปรเจค เผย พะยูนในธรรมชาติเพิ่ม

ซึ่งโครงการนี้นับเป็นโครงการใหญ่อีกหนึ่งโครงการใช้เวลาในการดำเนินโครงการกว่า 15 ปี ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ศูนย์รักษาและฟื้นฟูสัตว์ทะเลหายากที่เจ็บป่วย ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก และศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง โดยตั้งเป้าหมายจำนวนพะยูนในธรรมชาติได้รับการคุ้มครอง ดูแล และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายนี้ ตนขอขอบคุณองค์กรพันธมิตรและพี่น้องประชาชนทุกคนที่ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริม อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทรัพยากรพะยูนที่นับวันจะสูญหายไปจากท้องทะเลตรังให้กลับมามีจำนวนเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

จัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ "วราวุธ"เดินหน้า มาเรียมโปรเจค เผย พะยูนในธรรมชาติเพิ่ม

  ดร. ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์ นายกสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ กล่าวว่า ทางสมาคมฯ ได้หารือร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมาตั้งแต่ปี 2562 นับตั้งแต่สูญเสีย “พะยูนมาเรียม” โดยได้แสดงความประสงค์ที่จะให้การสนับสนุน การดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์และดูแลพะยูนในจังหวัดตรังและพื้นที่อื่นๆ ทั้งนี้ การจัดตั้งสถาบันวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พะยูนและสัตว์ทะเลหายาก นับเป็นแนวทางการบริหารจัดการที่ครบวงจรในทุกมิติ อีกทั้งยังได้พันธมิตรที่มีแนวคิดและอุดมการณ์เดียวกัน ซึ่งตนเชื่อว่าจะสามารถดูแลและอนุรักษ์พะยูนได้อย่างที่สมาคมฯ คาดหวังและตั้งใจ

 

อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้จะร่วมกับ กรม ทช. ในการออกแบบโครงการ สนับสนุนงบประมาณและดูแลการออกแบบ การก่อสร้างอาคารและระบบสาธารณูปโภคที่เป็นส่วนประกอบของโครงการฯ รวมถึงสนับสนุนจัดหาอุปกรณ์พื้นฐานต่างๆ ซึ่งจะได้หารือกัน ต่อไป ทั้งนี้ ตนและทางสมาคมฯ ได้เตรียมแผนงานเพื่อการประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์พะยูน เพื่อปลุกจิตสำนึกและกระตุ้นเตือนสังคมให้มีส่วนช่วยดูแลพะยูนให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ต่อไป 

จัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ "วราวุธ"เดินหน้า มาเรียมโปรเจค เผย พะยูนในธรรมชาติเพิ่ม
ผศ.โกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้ดำเนินการตามขั้นตอนส่งคืนพื้นที่ป่าชายเลนให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ โดยมหาวิทยาลัยพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาและดำเนินงานซึ่งที่ผ่านมาได้ทำงานร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากหลายชนิด เช่น พะยูน เต่าทะเล และโลมา ฯลฯ 

จัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ "วราวุธ"เดินหน้า มาเรียมโปรเจค เผย พะยูนในธรรมชาติเพิ่ม
โดยให้การสนับสนุนทีมนักวิชาการ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงานในพื้นที่ รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่ร่วมทำงานมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับครั้งนี้ภายใต้การดำเนินงานสถาบันวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พะยูนและสัตว์ทะเลหายาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวิชัยมีศักยภาพและความพร้อมอย่างยิ่งทั้งบุคลากร ผู้บริหาร นักวิจัย อาคารสถานที่ เครื่องมือ ครุภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนให้ภารกิจโครงการดังกล่าวบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยฯ ได้เตรียมพร้อมเสนอแนวทางดำเนินงานและขยายผลการเรียนรู้ระบบนิเวศให้กับนักศึกษาและชุมชนได้ประโยชน์สูงสุดจากสถาบันวิจัยฯ ต่อไป 

จัดงานสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ "วราวุธ"เดินหน้า มาเรียมโปรเจค เผย พะยูนในธรรมชาติเพิ่ม

Related posts

© Copyright 2018, All Rights Reserved