ระวัง "วันสารทจีน 2565" ปีนี้ดุ อันตรายมาก อ.ตี่ลี่ เตือนสิ่งห้ามทำเด็ดขาด

วันสารทจีน 2565 ปีนี้ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม 2565 ซึ่งหลายๆครอบครัวต่างพากันตั้งโต๊ะไหว้บรรพบุรุษที่เชื่อว่าจะได้กลับมาเยี่ยมลูกๆหลานๆในวันนี้ แต่ขอเตือนไว้ก่อน ระวัง "วันสารทจีน 2565" ปีนี้ดุ อันตรายมาก อ.ตี่ลี่ หมอฮวงจุ้ยชื่อดัง เตือนสิ่งห้ามทำเด็ดขาด

โดยอ.ตี่ลี่ ได้โพสต์เตือนเรื่อง สารทจีน 2565 เอาไว้บอกว่า ปีนี้ดุ อันตรายมาก ตลอดเดือนสิงหาคม ขอให้ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท และให้เลี่ยงการเดินทางหรือกิจกรรมที่ทำกลางคืน ระบุ

 

 

ระวังให้ดี เดือนนี้อันตราย ตี่ลี่ ฮวงจุ้ยขอเตือน!!! เทศกาลเปิดขุมนรก "สารทจีน 2565" 
.
เทศกาลสารทจีน  นับเป็นเทศกาลที่มีความสำคัญต่อชาวจีนค่อนข้างมาก   เพราะจัดเป็นวันที่ลูกๆ หลานๆ จะได้แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วด้วยการเซ่นไหว้ ขอขมาตามกันตามประเพณีของจีน  ซึ่งในเดือนนี้  ก็จะเป็นเดือนที่ "ประตูนรก" หรือ "ประตูผี" ถูกเปิดออก  บรรดาบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็จะกลับมาหาลูกๆหลานๆ ได้นั่นเอง

แต่!!!…ความน่ากลัวของเดือนนี้  อยู่ตรงที่ "ประตูผี" ที่เปิดออกนั้น  ไม่ได้มีแค่ "ผีบรรพบุรุษ" ของเรากลับมาอย่างเดียว   แต่หมายถึงบรรดาวิญญาณทั้งหมด มีทั้งดี และ ไม่ดี  ก็จะถูกปลดปล่อยออกมาด้วยเช่นกัน
.
และแน่นอนว่า  การที่มีวิญญาณที่ไม่ได้รับเชิญ  มาวนเวียนอยู่โดยรอบตัวเรา  ก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีสักเท่าไร ถ้าสังเกตกันดีๆ  ตั้งแต่เปิดเข้าเดือนสิงหาคมมานี้  มีเหตุการณ์หลายๆอย่างเกิดขึ้นรอบตัวเรา  ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์ใหญ่ๆ  ไม่ว่าจะอุบัติเหตุ หรือการก่อการร้าย  ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่คร่าชีวิตผู้คนไปค่อนข้างมากเลยทีเดียว  

 

.
ซึ่งเมื่อเข้าสู่ช่วงเวลานรกเปิดนี้  อาจารย์ก็จะมาย้ำเตือนกับลูกศิษย์ ตี่ลี่ ฮวงจุ้ย ทุกคน  ให้ใช้ชีวิตอยู่บนความระมัดระวัง…  งดการทำกิจกรรม งดออกเดินทางในยามกลางค่ำ กลางคืน  หรือถ้าหากเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็อยากจะให้ทุกคนเตรียมรับมือ หาวิธีป้องกัน และใช้ชีวิตอย่างระวังมากที่สุดจะดีกว่านะครับ
.
เทศกาลสารทจีนปีนี้  จะตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม  ซึ่งทั้งเดือนสิงหา จะเป็นช่วงเวลาเดือนดุ และ อันตรายที่สุด ขอให้ลูกศิษย์ระมัดระวังตัวเอง และคนรอบข้าง  ดูแลคนที่รักกันอย่างใกล้ชิด  เพราะ…การสูญเสีย ไม่ควรเกิดขึ้น ไม่ว่าจะรุนแรงมาก หรือ รุนแรงน้อยก็ตาม
.
ตี่ลี่ ฮวงจุ้ย ขอเตือน

 

 

ขอบคุณ ตี่ลี่ฮวงจุ้ย By ธนวันต์ จิรเจริญเวศน์