Trending News

Blog Post

"โรคกระดูกสันหลัง" ต้อง "kdms" รักษาด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง นวัตกรรมทันสมัย
สุขภาพ-ความงาม

"โรคกระดูกสันหลัง" ต้อง "kdms" รักษาด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง นวัตกรรมทันสมัย 

  ขณะเดียวกันการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อยู่หน้าจอมือถือ คอมพิวเตอร์มากขึ้น ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ รวมถึงเกิดพฤติกรรมเนือยนิ่งไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือใช้ร่างกายมากจนเกินไป ล้วนเป็นหลายๆ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระดูกสันหลัง 

  “โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข หรือ kdms hospitalเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อด้วยการรวมกลุ่มของทีมศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อเฉพาะทางในแต่ละสาขา และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยในกลุ่มของโรคกระดูกสันหลังจะมีทีมแพทย์เฉพาะทางกระดูกสันหลังที่จะคอยดูแลรักษาคนไข้ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา กายภาพบำบัด การผ่าตัดและดูแลอย่างต่อเนื่องจนกว่าคนไข้จะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ หรือใช้ชีวิตตามที่ใจต้องการ

 

"โรคกระดูกสันหลัง" ต้อง "kdms" รักษาด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง นวัตกรรมทันสมัย

 รศ.นพ.รัฐฤกษ์ อรุณากูร ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง กล่าวว่าปัจจุบันคนมีอายุเฉลี่ยมากขึ้น จึงทำให้มีโอกาสพบปัญหาจากภาวะข้อเสื่อมมากขึ้น โดยเฉพาะกระดูกสันหลังส่วนเอว และกระดูกสันหลังส่วนคอ ซึ่งกระดูกสันหลังถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นจุดศูนย์รวมของเส้นประสาท ไขสันหลัง ที่ต่อเนื่องมาจากสมองที่มีหน้าที่สั่งการขยับแขนขาและรับความรู้สึก เมื่อเกิดภาวะความเสื่อมจากข้อกระดูกสันหลัง หรือกระดูกต้นคอ อาจทำให้กระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทและเกิดอันตรายได้ 

รศ.นพ.รัฐฤกษ์ อรุณากูร
 
“การดูแลรักษาเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลัง ของรพ.kdmsจะมีทีมแพทย์เฉพาะทางโรคกระดูกสันหลัง ที่จะคอยดูแลรักษาคนไข้แบบองค์รวม” รศ.นพ.รัฐฤกษ์ กล่าว

  • ทุกช่วงวัย มีความเสี่ยงเกิดโรคกระดูกสันหลัง

 

โดยกลุ่มคนไข้ที่อาการไม่มาก จะรักษาโดยให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ยา หรืออาจร่วมกับการทำกายภาพบำบัด

ส่วนในกลุ่มคนไข้ที่อาการหนัก อาทิเช่น มีอาการปวดมาก มีข้อกระดูกสันหลังเคลื่อน ผิดรูป คด เอียง หรือ มีการกดทับเส้นประสาทรุนแรง ก่อให้เกิดความเสียหายของเส้นประสาท มีอาการชา อ่อนแรง หรือปวดร้าวไปตามแขน ตามขา อาจจำเป็นต้องทำหัตถการหรือผ่าตัดรักษาให้หายขาด 

รศ.นพ.รัฐฤกษ์ กล่าวต่อว่าโรคกระดูกสันหลัง ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น ในกลุ่มอายุน้อยหรือเด็กวัยรุ่น อาจมีภาวะกระดูกสันหลังคด วัยทำงาน อาจมีภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง(Office syndrome) ซึ่งอาจเกิดจากการทำงานอยู่ท่าเดิมนานๆ มีกิจวัตรประจำวันที่ใช้ร่างกายในท่าที่ไม่เหมาะสม

"โรคกระดูกสันหลัง" ต้อง "kdms" รักษาด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง นวัตกรรมทันสมัย

การป้องกันไม่ให้เป็นโรคกระดูกสันหลัง อย่าง หมอนรองกระดูกเสื่อม หมอนรองกระดูกเคลื่อน ออฟฟิศซินโดรม ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างเหมาะสม อาทิ ผู้ที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ก็ต้องจัดตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ ความสูงของโต๊ะ เก้าอี้ ให้มันเหมาะสมกับสรีระร่างกาย” รศ.นพ.รัฐฤกษ์ กล่าว

รวมถึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม มีแรงกดลงไปบริเวณข้อ หรือหมองรองกระดูกมากขึ้น เช่น ก้มหน้าอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ

อย่างไรก็ตาม โรคกระดูกสันหลังเกิดได้จากหลายปัจจัย ในกรณีที่มีอาการปวดมาก ปวดเรื้อรังหรือมีสัญญาณอันตรายควรเข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด

 

การรักษา “โรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข” จะแตกต่างจากโรงพยาบาลทั่วไปที่มีการบริการกระดูกและข้อ เพราะโรงพยาบาลแห่งนี้ จะทำการดูแลรักษา โดยทีมอาจารย์แพทย์เฉพาะทางด้านโรคกระดูกสันหลัง ที่มีประสบการณ์การทำงานมามากกว่า 10 ปี และเป็นการทำงานร่วมกับทีมแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีที่สุด

รศ.นพ.รัฐฤกษ์ กล่าวต่อไปว่า ทีมแพทย์เฉพาะทางโรคกระดูกสันหลัง และโรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข บริการด้วยความจริงใจ ถ้าคนไข้อาการไม่มาก ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด เราได้ออกแบบโปรแกรมการรักษาที่เรียกว่า kdms protocol ซึ่งเป็นการรักษาแบบองค์รวม แต่ถ้าคนไข้อาการหนักต้องทำการรักษาโดยผ่าตัด ทีมแพทย์ผ่าตัดเราจะใช้ทั้งประสบการณ์และเทคโนโลยีในการรักษา เช่น การส่องกล้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง การผ่าตัดแบบเจาะรูแผลเล็ก เพื่อให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุด เพราะเราไม่ได้อยากรักษาโรคให้หายเพียงอย่างเดียว 

"โรคกระดูกสันหลัง" ต้อง "kdms" รักษาด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง นวัตกรรมทันสมัย

"โรคกระดูกสันหลัง" สามารถรักษาหายได้หากได้รับการตรวจเช็คอย่างรวดเร็ว คนไข้สงสัยว่าตนเองเสี่ยงเป็นโรคกระดูกสันหลังหรือไม่?

มีอาการปวดหลัง ปวดร้าวตามแขนและขา อาการชา สามารถเข้าไปเช็คกลุ่มอาการที่หน้าเว็บไซต์ https://kdmshospital.com กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลได้ เพื่อเข้าทำการรักษา

โดยมีทีมแพทย์เฉพาะทางโรคกระดูกสันหลังช่วยออกแบบการรักษาให้เหมาะสมกับคนไข้มากที่สุด หรือสามารถสอบถามรายละเอียดการรักษา ได้ที่ โทร.02 080 8999 รวมถึงนัดหมายทาง [email protected]

 

 

เดิมการผ่าตัดกระดูกสันหลังต้องเปิดแผลค่อนข้างใหญ่ ต้องเลาะกล้ามเนื้อตรงบริเวณกระดูกออกบางส่วนถึงจะทำการรักษาได้ แต่ในปัจจุบัน โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข ได้นำนวัตกรรมการผ่าตัดแบบแผลเล็ก หรือที่เรียกว่า Minimally Invasive Surgery (MIS) โดยการส่องกล้องที่เรียกว่า Endoscopic Spine Surgery

นพ.จิรชัย พิสุทธิ์เบญญา ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาล kdms กล่าวว่าวิธีการผ่าตัดแบบ MIS ด้วยการใช้กล้อง Endoscope นั้น ในประเทศไทยมีเพียงโรงพยาบาลไม่กี่แห่งที่นำมาใช้ เนื่องจากการใช้นวัตกรรมดังกล่าวต้องมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือ

นพ.จิรชัย พิสุทธิ์เบญญา

 

  การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข ได้มีการวิธีการผ่าตัดนี้มาใช้ เพื่อช่วยให้การรักษาเกิดผลดีที่สุดต่อผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ

“การผ่าตัด MIS ด้วยการส่องกล้อง Endoscope นั้น เป็นการผ่าตัดแผลเล็กด้วยการสอดกล้องลักษณะเป็นท่อขนาด 8-10 มิลลิเมตร โดยการผ่าตัดแผลเล็ก จะช่วยลดการทำลายกล้ามเนื้อ และกระดูกที่ดี การที่มีแผลเล็กจะทำให้อาการปวดน้อยลง และทำให้คนไข้หลังผ่าตัดฟื้นตัวเร็วมากขึ้น ลดโอกาสการติดเชื้อหรือเกิดโรคแทรกซ้อน ทำให้คนไข้กลับมาสู่ชีวิตได้ปกติได้ไวมากขึ้น” นพ.จิรชัย กล่าว

ทั้งนี้ ปัจจุบันการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง Endoscope สามารถทำการรักษาได้ทั้งกระดูกสันหลังส่วนเอว รวมถึงกระดูกต้นคอด้วย

ปัจจุบันโรคที่ทำการรักษาได้ด้วยวิธีนี้ เช่น โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus, HNP) โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบทับเส้นประสาท (Spinal Stenosis) โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ด้วยการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลัง (Spinal Fusion) ร่วมกับสอดโลหะเข้ายึดกระดูกสันหลัง เป็นต้น
 

"โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข kdms"

“การผ่าตัดผ่านการส่องกล้องกระดูกสันหลัง” เป็นการใช้เครื่องมือที่ทันสมัย และทาง "โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข kdms" มีทีมศัลยแพทย์กระดูกสันหลังที่มีความเชี่ยวชาญและมีการทำงานร่วมกันกับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเพื่อออกแบบการรักษาให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี เพื่อให้คนไข้กลับไปใช้ชีวิตได้ตามที่ต้องการ

Related posts

© Copyright 2018, All Rights Reserved