Trending News

Blog Post

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ จังหวัดน่าน เมืองงาช้างดำ
ท่องเที่ยว

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ จังหวัดน่าน เมืองงาช้างดำ 

1.ความเป็นมาของจังหวัดน่าน
 จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของภาคเหนือ เป็นที่ตั้งของเมืองที่สำคัญในอดีต เช่น เวียงวรนคร เวียงศีรษะเกษ เวียงภูเพียงแช่แห้ง อีกทั้งยังเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำน่าน 
    มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกในพงศาวดารว่า นันทบุรี เมืองน่านในอดีตเป็นนครรัฐเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำสาขาในหุบเขาทางตะวันออกของภาคเหนือ ซึ่งแบ่งการปกครองเป็น 3 สมัย ได้แก่ 1.สมัยเมืองล่าง-วรนคร 2.สมัยล้านนา 3.สมัยรัตนโกสินทร์
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ จังหวัดน่าน เมืองงาช้างดำ

2.สัญลักษณ์ประจำจังหวัดน่าน 
-ตราประจำจังหวัดน่าน
     รูปพระธาตุแช่แห้งประดิษฐานบนหลังโคอุศุภราช
-ดอกไม้ประจำจังหวัดน่าน  เสี้ยวดอกขาว
-ต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน  กำลังเสือโคร่ง
-คำขวัญประจำจังหวัดน่าน แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ จังหวัดน่าน เมืองงาช้างดำ

3.ทรัพยากรป่าไม้จังหวัดน่าน
    มีจำนวนอุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง, วนอุทยาน 1 แห่ง, เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง และสวนรุกขชาติ 2 แห่ง ได้แก่
    –อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของจังหวัดน่าน มีอาณาเขตกว้างขวางเป็นอันดับ 4 ของประเทศ โดยมีพื้นที่ประมาณ 1,065,000 ไร่ หรือ 1,704 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมในท้องที่ 8 อำเภอของจังหวัดน่าน ได้แก่ อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอบ่อเกลือ อำเภอสันติสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และ อำเภอแม่จริม ประกอบด้วยพรรณไม้ที่หลากหลาย มีการค้นพบพืชสำคัญหลายชนิด เช่น เต่าร้างยักษ์ภูคา ก่วมภูคา รางจืดภูคา ที่พบเฉพาะที่นี่เพียงแห่งเดียว รวมถึงต้นชมพูภูคา ซึ่งพบที่นี่เพียงแห่งเดียวเช่นกัน
    –อุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา ตามแนวสองฟากฝั่งลำน้ำน่าน จนไปสิ้นสุดที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ มีเนื้อที่ประมาณ 640,237.50 ไร่ หรือ 1,024.38 ตารางกิโลเมตร สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ ดอยเสมอดาว ผาหัวสิงห์ ผาชู้ เสาดิน แก่งหลวง หมู่บ้านประมงปากนาย เป็นต้น
    –อุทยานแห่งชาติแม่จริม อยู่ในอำเภอแม่จริม มีเนื้อที่ประมาณ 270,000 ไร่ หรือ 432 ตารางกิโลเมตร มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เด่นคือ การล่องแก่งลำน้ำว้า
    –อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน อยู่ในท้องที่อำเภอท่าวังผา อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน และอำเภอเชียงคำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา มีพื้นที่ประมาณ 155,200 ไร่ หรือ 248.32 ตารางกิโลเมตร
    -อุทยานแห่งชาตินันทบุรี มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอท่าวังผา อำเภอเมืองน่าน อำเภอบ้านหลวง เนื้อที่ประมาณ 548,125 ไร่ หรือ 877 ตารางกิโลเมตร พื้นที่แห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ สำคัญแห่งหนึ่งในอดีต เคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีการต่อสู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
    –อุทยานแห่งชาติขุนสถาน มีพื้นที่ครอบคลุมป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ในท้องที่อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น เนื้อที่ประมาณ 262,000 ไร่ หรือ 419.2 ตารางกิโลเมตร
    –อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ มีพรรณไม้และสัตว์ป่าที่น่าสนใจมากมาย มีพื้นที่ประมาณ 155,375 ไร่ หรือ 248.6 ตารางกิโลเมตร
    –วนอุทยานถ้ำผาตูบ อยู่ในท้องที่บ้านผาตูบ ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน มีเนื้อที่ประมาณ 528 ไร่
    –เขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูฟ้า อยู่ในท้องที่ตำบลบ่อเกลือใต้ ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ และตำบลหนองแดง ตำบลน้ำพาง ตำบลแม่จริม อำเภอแม่จริม มีเนื้อที่ประมาณ 74,553 ไร่
    –สวนรุกขชาติแช่แห้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง โดยมีอาณาเขตติดกับวัดพระธาตุแช่แห้ง มีเนื้อที่ประมาณ 72 ไร่
    –สวนรุกขชาติห้วยน้ำอุ่น อยู่ในท้องที่ตำบลอ่ายนาไลย อำเภอเวียงสา มีเนื้อที่ประมาณ 400 ไร่

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ จังหวัดน่าน เมืองงาช้างดำ

4.ประชากรศาสตร์ 
ประชากรในจังหวัดน่านมีอยู่อย่างเบาบางเป็นอันดับ 3 ของประเทศ (ประมาณ 41 คนต่อตารางกิโลเมตร) กระจัดกระจายไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ แบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
     1.ชาวไทยวน หรือ คนเมือง ส่วนใหญ่อพยพมาจากเชียงแสนและบริเวณต่าง ๆ ของล้านนา ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัด
     2.ชาวไทลื้อ (ไทลื้อ, ไทยอง) ส่วนใหญ่อพยพมาจากสิบสองปันนาและหัวเมืองต่าง ๆ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีทั้งอพยพมาด้วยความสมัครใจและอพยพมาเนื่องจากเกิดศึกสงครามทั้งภายในหัวเมืองลื้อเอง และอพยพมามากที่สุดยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมืองของเจ้ากาวิลละแห่งเชียงใหม่ และเจ้าอัตถวรปัญโญ ฯ แห่งนครน่าน และยุคของเจ้าสุมนเทวราช อีกทั้งมีการอพยพเข้ามาเรื่อย ๆ ครั้งเกิดการปฏิวัติการปกครองประเทศของจีน ชาวไทลื้ออาศัยตั้งบ้านเรือน อยู่กระจัดกระจายตามลุ่มน้ำต่าง ๆ ในจังหวัดน่านมีมากที่สุด คือ อำเภอปัวแทบทุกตำบล อำเภอท่าวังผา อำเภอสองแคว อำเภอเชียงกลาง และอำเภอทุ่งช้าง เลยไปถึงอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
     3.ชาวไทพวน หรือ ลาวพวน อยู่ที่บ้านฝายมูล อำเภอท่าวังผา และบ้านหลับมืนพวน อำเภอเวียงสา
     4.ชาวไทเขิน หรือ ชาวขึน อพยพมาจากเชียงตุง ปัจจุบันส่วนใหญ่จะถูกกลืนทางวัฒนธรรมจากคนเมือง ทั้งภาษาพูดและเครื่องแต่งกาย แต่บางหมู่บ้านยังมีการนับถือผีเจ้าเมืองของไทเขินอยู่ จึงรู้ว่าเป็นไทเขิน เช่นบ้านหนองม่วง อำเภอท่าวังผา ส่วนบ้านเชียงยืน ตำบลยม อำเภอท่าวังผา ถูกชาวไทลื้อกลืนวัฒนธรรมจนไม่เหลือเค้าของชาวไทเขิน
     5.ชาวไทใหญ่ หรือ เงี้ยว หรือ ไตโหลง มีถิ่นฐานในรัฐฉาน และเชียงตุง อาศัยอยู่บริเวณแถวอำเภอทุ่งช้าง ในปัจจุบันถูกกลืนวัฒนธรรมจนแทบแยกไม่ออกว่าเป็นชาวไทใหญ่
นอกจากนี้ในบริเวณที่สูงตามไหล่เขายังเป็นชุมชนของชนกลุ่มน้อยที่เรียกกันว่า "ชาวเขา" ได้แก่ ชาวม้ง, เมี่ยน, ลัวะหรือถิ่น, ขมุ รวมถึงชาวตองเหลืองหรือมาบลี ที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา
    ผู้คนในจังหวัดน่านจึงมีภาษาพูดที่หลากหลายด้วยเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะพูดภาษาไทยถิ่นเหนือหรือคำเมืองสำเนียงน่าน

5.วัฒนธรรมและประเพณีของจังหวัด
        –งานประเพณีไหว้พระธาตุ เมืองน่านเป็นเมืองหนึ่งในดินแดนล้านนาที่พระพุทธศาสนาเผยแผ่มาถึงเป็นเวลาช้านาน ในเขตเมืองเก่า ทั้งในตัวเมืองน่านและที่อำเภอปัวจะมีพระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาเด่นเป็นสง่า
ในรอบปีมีงานประเพณีบูชาพระธาตุสำคัญ ได้แก่
งานนมัสการพระธาตุเบ็งสกัด ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เหนือ (ประมาณเดือนมกราคม)
งานประเพณี “หกเป็งไหว้สามหาธาตุแช่แห้ง” ในวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔
ภาคกลาง (ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม) มีการจุดบ้องไฟถวายเป็นพุทธบูชา
งานประเพณีนมัสการพระธาตุเขาน้อย ในวันเพ็ญเดือน ๘ เหนือ ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ ภาคกลาง(ประมาณเดือนพฤษภาคม) มีงานนมัสการพระธาตุเขาน้อย และมีการจุดบ้องไฟถวายเป็นพุทธบูชา
งานประเพณีนมัสการสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาลช่วงเทศกาลสงกรานต์ ๑๒-๑๕ เมษายน

    –งานตานก๋วยสลาก งานแห่คัวตาน หรือครัวทาน ทานสลาก หรือก๋วยสลากเป็นประเพณีเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล สำหรับชาวเหนือถือว่าเป็นประเพณีทำบุญกลางบ้านที่ยิ่งใหญ่และสำคัญเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น พระภิกษุรับนิมนต์เพื่อมารับการถวายทานโดยการจับสลาก
    –งานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน  ประเพณีแข่งเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานต่อมาใน
พ.ศ. ๒๔๗๙  ได้จัดให้มีการแข่งเรือในงานทอดกฐินสามัคคีสืบทอดมาจนถึงงานทอดกฐินพระราชทานในปัจจุบัน ราวกลางเดือนตุลาคม หรือต้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยถือเอาวันเปิดสนามแข่งเรือตามวันถวายสลากภัตของวัดช้างค้ำวรวิหารซึ่งเป็นวัดหลวง จะจัดงานถวายสลากภัตก่อน งานแข่งเรือประเพณีจังหวัดน่านจึงเป็นประเพณีคู่กับตานก๋วยสลากของวัดช้างค้ำมาจนทุกวันนี้ ภายหลังทางจังหวัดได้ผนวกงานสมโภชงาช้างดำอันเป็นสมบัติล้ำค่าคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดน่านเข้าไปด้วย   นอกจากนั้นยังมีงานแข่งเรือที่อำเภอเวียงสาในเทศกาลตานก๋วยสลาก
    –งานเทศกาลส้มสีทองและงานกาชาดจังหวัดน่าน  จัดขึ้นในเดือนธันวาคมของทุกปี บางปีอาจจัดร่วมกับเทศกาลของดีเมืองน่าน ส้มสีทองเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน  พันธุ์เดียวกับส้มเขียวหวาน   แต่ส้มสีทองจะมีเปลือกสีเหลืองทองสวยงาม  และรสชาติหวานหอมอร่อยกว่า   เป็นเพราะอิทธิพลของดินฟ้าอากาศคือ อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนต่างกัน  ๘  องศา    เป็นเหตุให้สาร “คาร์ทีนอยพิคเมนท์” ในเปลือกส้มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีทองดังกล่าว   
กิจกรรมในงานที่น่าสนใจมีหลายอย่าง  ได้แก่  การประกวดขบวนรถส้มสีทอง  การออกร้านนิทรรศการ  การจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมจากอำเภอต่าง ๆ และจากเมืองฮ่อน-หงสา สปป.ลาว การแสดงพื้นเมืองและมหรสพต่าง ๆ อีกมากมาย
    –พิธีสืบชะตา เป็นประเพณีโบราณ มักทำในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันเกิดอายุครบรอบ ฟื้นจากการเจ็บป่วย การสืบชะตาถือเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ เป็นสิริมงคล และขับไล่สิ่งเลวร้ายให้ผ่านพ้นไป ต่อมามีการประยุกต์พิธีสืบชะตากับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    
6.ภูมิประเทศ จังหวัดน่าน
    จังหวัดน่านมีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยเฉพาะบริเวณชายแดนด้านเหนือและตะวันออกซึ่งเป็นรอยต่อกับประเทศลาว มีภูเข้ในเขตอำเภอบ่อเกลือ เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด คือมีความสูงถึง 2,079 เมตร[8] และมีดอยภูคาในเขตอำเภอปัว เป็นยอดเขาที่สำคัญของจังหวัด มีความสูง 1,980 เมตร ส่วนพื้นที่ราบจะอยู่บริเวณตอนกลางของจังหวัด และตามลุ่มน้ำต่าง ๆ แหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดคือแม่น้ำน่าน ซึ่งมีต้นกำเนิดทางตอนเหนือของจังหวัด แล้วไหลลงไปยังเขื่อนสิริกิติ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และบรรจบกับแม่น้ำปิงที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสาขาต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำสา ลำน้ำว้า ลำน้ำสมุน ลำน้ำปัว ลำน้ำยาว ลำน้ำย่าง ลำน้ำแหง เป็นต้น มีพื้นที่กว้างใหญ่ พื้นที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทั้งยังมีประชากรหลายชาติพันธุ์ นับว่าเป็นดินแดนของความหลากหลายอีกแห่งหนึ่งของประเทศ

7.  6 อาหารพื้นเมืองของจังหวัดน่าน
    1. แกงส้มเมือง
    2. แกงแค
    3. ส้าบะเขือ
    4. ห่อนึ่ง/ แอ๊บ
    5. ไก่มะแข่น
    6. ไก
    
8.สถานที่ท่องเที่ยว
    จังหวัดน่านอาจไม่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้น ๆ ของสถานที่ท่องเที่ยว[ต้องการอ้างอิง] แต่ความจริงแล้ว ที่นี่มีแหล่งท่องเที่ยวให้ผู้สนใจได้ท่องเที่ยวมากมายไม่รู้จบ ทั้งสถานที่ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี แหล่งอารยธรรมโบราณ โดยที่เพิ่งค้นพบในเขตอำเภอเมืองน่าน ส่วนโบราณสถานโดยเฉพาะวัดเก่าแก่มีให้เห็นแทบทุกอำเภอ ได้แก่ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดด้าน วัดภูมินทร์ หอคำ วัดหนองบัว วัดบุญยืน ซึ่งล้วนแต่มีอายุนับร้อย ๆ ปี มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามทั้งสิ้น

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติก็มีความหลากหลาย เช่น เส้นทางชมธรรมชาติหมู่บ้านมณีพฤกษ์ ในอำเภอทุ่งช้าง อุทยานแห่งชาติหลายแห่ง และเสาดินที่อำเภอนาน้อย บ่อเกลือโบราณในอำเภอบ่อเกลือ หรือการล่องแก่งน้ำว้าที่มีทัศนียภาพสวยงามตลอดเส้นทาง เป็นต้น

สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน สามารถท่องเที่ยวได้ทั่วทุกอำเภอ ด้วยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีงานบุญประเพณีที่สำคัญ เช่น งานแข่งเรือ งานไหว้พระธาตุ ส่วนผู้ที่ชื่นชอบศิลปะการแสดงก็สามารถชมการแสดงนาฏศิลป์ที่งดงาม รวมทั้งดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ดนตรีวงปี่จุ้ม จ๊อยซอ ฟ้อนแง้น เป็นต้น

9.วัดสำคัญของจังหวัดน่าน
1. วัดภูมินทร์
2. วัดพระธาตุแช่แห้ง
3. วัดพระธาตุเขาน้อย
4. วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
5. วัดศรีพันต้น
6. วัดมิ่งเมือง
7. วัดหนองบัว
8. วัดสวนตาล
9. วัดพญาวัด 
10. วัดภูเก็ต

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ จังหวัดน่าน เมืองงาช้างดำ

10. 6 ของฝากขึ้นชื่อจังหวัดน่าน
    1.  สาหร่ายน้ำจืด (ไก)
    2.  เครื่องเงินชมพูภูคา
    3.  มะไฟจีน
    4. ส้มสีทอง
    5. ผ้าทอลายน้ำไหล

Related posts

© Copyright 2018, All Rights Reserved