Trending News

Blog Post

5 พฤติกรรมการใช้รถยนต์ ทำให้บริษัทประกันไม่รับเคลม
ยานยนต์

5 พฤติกรรมการใช้รถยนต์ ทำให้บริษัทประกันไม่รับเคลม 

5 พฤติกรรมการใช้รถยนต์ ทำให้บริษัทประกันไม่รับเคลม

5 พฤติกรรมการใช้รถยนต์ ทำให้บริษัทประกันไม่รับเคลม

ในการใช้รถใช้ถนนประกันภัยรถยนต์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเป็นอันดับต้นๆเลยก็ว่าได้ เพราะเราไม่มีวันรู้เลย ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นกับตัวเราเมื่อไหร่ หรืออาจจะมีคู่กรณีมาชนรถของเราก็เป็นได้ โดยหลักการทำประกันภัยรถยนต์นั้น จะส่งผลให้ทุนประกัน และความคุ้มครองของรถยนต์ของเราสูงขึ้นตามไปด้วย แต่หลายผู้ใช้งานมักเข้าใจว่าเมื่อเราเลือกทำประกันที่มีค่าเบี้ยประกัน และทุนประกันสูงแล้ว ไม่ว่าเกิดเหตุการณ์แบบไหนรถยนต์ของเราก็สามารถทำเรื่องเคลมได้ 

5 พฤติกรรมการใช้รถยนต์ ทำให้บริษัทประกันไม่รับเคลม

 

 

แต่ทั้งหมดทั้งม้วนนั้น การเคลมประกันภัยรถยนต์ ก็ต้องอยู่ในข้อตกลงของแต่ล่ะบริษัท และอยู่ที่พฤติกรรมการขับขี่ของเเต่ล่ะบุคคลด้วย  สำหรับวันนี้ลองมาดูข้อห้ามทั้ง 5 วิธี ที่ไม่แนะนำให้ทำตาม ไม่งั้นประกันอาจไม่รับเคลมกันครับ

1. ผู้ขับขี่ไม่มีใบขับขี่ หรือถูกเพิกถอนใบขับขี่ 

 

  การทำประกันชั้น 1 ที่ครอบคลุมการคุ้มครองเป็นอย่างดีก็ไม่สามารถคุ้มครองได้ทั้งหมด ถ้าหากผู้ขับขี่ไม่มีใบขับขี่ หรือเป็นผู้ที่ถูกเพิกถอนใบขับขี่ ในทางกฎหมายถือว่าเป็นการกระทำความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

     ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุจากเหตุผลดังกล่าว ทางประกันจะไม่จ่ายค่าเสียหายให้และจะไม่รับผิดชอบทั้งความเสียหายของรถยนต์ และผู้ขับขี่ แต่ถ้าหากมีคู่กรณีทางบริษัทประกันจะทำการรับผิดชอบเคลมให้ได้ตามที่มีการคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

 

 

2. จัดฉากทำลายทรัพย์สิน

การจัดฉากเพื่อหวังเคลมประกัน รู้หรือไม่ว่าเป็นการกระทำที่ผิด ผู้ใช้งานรถยนต์ที่ทำประกันรถหลายคนมองว่าการเสียค่าเงินประกันไปแล้วในราคาที่สูงแต่ไม่ได้เคลมจะเกิดความรู้สึกว่าไม่คุ้ม เลยคิดว่าเมื่อรถของเรามีรอยบุบหรือ หรือรอยต่างๆ ก็อยากจะเคลมสีรอบคัน ซึ่งในจุดนี้ถ้าหากประกันที่มีครอบคลุมก็สามารถทำเรื่องเคลมได้ แต่ถ้าประกันไม่ครอบคลุม หรือมีความคิดที่จะจัดฉากกับคู่กรณี เพื่อหวังเคลมประกันก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดอย่างแน่นอน

     ตัวอย่าง กรณีรถทำประกัน 2+ ซึ่งคุ้มครองรถชนกรณีมีคู่กรณีเท่านั้น แต่เรากลับไปชนรั้วบ้านตัวเองเกิดความเสียหายกับตัวรถ ซึ่งความเป็นจริงกรณีนี้บริษัทประกันจะไม่รับผิดชอบ แต่อาจมีคนหัวหมอมีการนัดแนะกับบุคคลที่ตนเองรู้จักสวมรอยเป็นคู่กรณี เพื่อสร้างสถานการณ์หวังเคลมประกัน ซึ่งกรณีนี้ถ้าบริษัทประกันตรวจดูหน้างานและพบว่าไม่ใช่เหตุการณ์ที่สมเหตุสมผล เช่น รอยชนไม่สัมพันธ์กัน ตลอดจนสีที่ถลอกก็ไม่ได้ใกล้เคียงกัน ทางประกันมีสิทธิ์ที่จะไม่รับเคลมให้ได้ และบริษัทประกันมีสิทธิ์ฟ้องกลับข้อหาฉ้อโกงให้ความเท็จเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับผลประโยชน์จากการประกันวินาศภัย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท

3. ใช้ประลองความเร็ว

ข้อนี้เเนะนำสำหรับ สายซิ่งต่างๆ นิยมนำรถที่มีไปทำการแข่งความเร็วกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นการแข่งกันตามสนามอย่างถูกกฎหมาย หรือนำไปแข่งเองกันตามถนนแบบผิดกฎหมาย ถ้าเกิดอุบัติเหตุทางบริษัทประกันภัยรถยนต์ไม่รับเคลมอย่างแน่นอน นอกจากจะสร้างความเสียหายให้แก่รถยนต์แล้ว ยังสามารถสร้างความเสียหายให้แก่ผู้ขับขี่ ผู้เข้าแข่งขันคนอื่น และบุคคลอื่นที่อาจได้รับผลกระทบทั้งทางตรง การแข่งความเร็วกันบนถนนแบบผิดกฎหมาย ผู้ขับขี่ และเจ้าของรถยนต์จะต้องแบกรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย และยังมีโทษตามกฏหมายตามกฎหมายจราจร จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับ 2,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังอาจโดนเพิกถอนใบขับขี่อีกด้วย

4. เมาแล้วขับ

 เมาแล้วขับเป็นสาเหตุหลักอันดับ 1 ในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และอีกสาเหตุที่หากเกิดอุบัติเหตุด้วยเหตุผลนี้ ทางประกันจะไม่สามารถเคลม โดยถ้ามีการวัดปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 50 มิลลิกรัมถือว่าเมา ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุถึงแม้ว่าทางประกันจะจ่ายให้ทางคู่กรณี แต่รถเราที่ทำประกันจะไม่สามารถเคลมประกันภาคสมัครใจได้

     นอกจากเคลมประกันไม่ได้แล้ว เมาแล้วขับ ยังมีโทษทางกฎหมาย หากเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกาย และจิตใจ มีโทษจำคุก 1-5 ปี ปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อาจมีผลให้ถูกพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบขับขี่ และอาจโดนโทษจำคุก 3-10 หรือถูกปรับสูงสุด 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับในกรณีที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

5. สลับตัวคนขับเมื่อเกิดเหตุ

การเคลมประกันในกรณีที่เป็นประกันแบบระบุผู้ขับขี่ หากเกิดอุบัติเหตุโดยผู้ขับขี่ที่ไม่มีชื่ออยู่ในประกันเป็นฝ่ายผิด ทางบริษัทยังคงให้ความคุ้มครองเต็มจำนวน แต่จะต้องมีการจ่าย “ค่าผิดเงื่อนไข” ที่เป็นค่าเสียหายส่วนแรกให้กับคู่กรณี 2,000 บาท และซ่อมรถตัวเอง 6,000 บาท แต่ถ้าตอนเกิดเหตุแล้วผู้ขับขี่ไม่ได้เป็นคนเดียวกับที่ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์และมีเจตนาปกปิด หรือบิดเบือนความจริง หากบริษัทตรวจสอบแล้วพบว่ามีเจตนาให้ข้อมูลเท็จ บริษัทประกันมีสิทธิ์ไม่ให้เคลมประกันได้ 

 

Related posts

© Copyright 2018, All Rights Reserved