Trending News

Blog Post

"สถาบันโพธิคยาวิชชาลัยฯ" ผลักดันความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ประชาสัมพันธ์

"สถาบันโพธิคยาวิชชาลัยฯ" ผลักดันความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 

   วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม  2565 เวลา10.00น. สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย980 คณะพุทธศาสตร์ มหวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และมูลนิธิวีระภุชงค์ ได้จัดงานแถลงข่าวหัวข้อ "อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาค สู่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" ที่ห้องประชุม บริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 

"สถาบันโพธิคยาวิชชาลัยฯ" ผลักดันความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
   โดยในงานมี ดร.วินัย วีระกุชงค์ ประธานมูลนิธิวีระภุชงค์ ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย980 เป็นประธานในพิธี และผู้เข้าร่วมแถลงข่าวจากคณะผู้วิจัย คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้แก่ พระเมธีวรญาณ ป.ธ.9 ผศ.ดร. รองคณบดีฝ่ายบริหาร , พระมหายุทธนานรเชฏโฐ ป.ธ.9  ผศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระไตรปิฎก

"สถาบันโพธิคยาวิชชาลัยฯ" ผลักดันความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

   รองศาสตราจารย์ ดร.ณัธีร์ ศรีดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และ นางสาวทิพย์วรรณ วีระภุชงค์ กรรมการมูลนิธิวีระภุชงค์ , ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย980 และ นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมและกระทรวงวัฒนธรรม

นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมและกระทรวงวัฒนธรรม

งานแถลงข่าวครั้งนี้จัดขึ้นเนื่องในโอกาสสรุปงานวิจัยชุดแรกหัวข้อ "อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทย" ภายใต้แผนการวิจัยหัวข้อ "อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในลุ่มแม่น้ำโขง" โดยจะลงพื้นที่ศึกษาวิจัยในหัวข้อเดียวกันที่ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมา เร็วๆ นี้

พระเมธีวรญาณ ป.ธ.9 ผศ.ดร. รองคณบดีฝ่ายบริหาร , พระมหายุทธนานรเชฏโฐ ป.ธ.9 ผศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย980 กล่าวว่า "ความคิดริเริ่มสนับสนุนการทำงานวิจัยหัวข้อ อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่" เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในลุ่มแม่น้ำโขงนั้น ได้มาจากการวางแผนจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมความตระหนักในการนำแก่นธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของคนในลุ่มน้ำโขง

"สถาบันโพธิคยาวิชชาลัยฯ" ผลักดันความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

เนื่องจากตลอดการเดินทางในงานธรรมยาตราเเละแผ่นดินไทย ลาว กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม ที่ผ่านมา พบว่า ทุกวัดมีเรื่องราวและรูปปั้นพญานาค ไม่ว่าจะเป็น วัดพุทธเถรวาทหรือมหายาน จึงทำให้คิดถึงการรวบรวมองค์ความรู้เรื่องพญานาคที่ถูกต้องให้ครอบคลุม เพื่อค้นหาความผูกพันขององค์พญานาคในการพิทักษ์ปกป้องพระพุทธศาสนา และลบความเชื่อผิด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์พญานาคออกไป 

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย980

   สถาบันฯจึงสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเรื่อง "อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในลุ่มแม่น้ำโขง" ขึ้น ซึ่งมีคณะผู้วิจัยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงจากการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการพระพุทธศาสนา จากคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย นำโดยพระเมธีวรญาณ ป.ธ.9 ผศ.ดร. รองคณบดีฝ่ายบริหาร รับเป็นผู้อำนวยการแผนงานวิจัยทั้งชุด

รองศาสตราจารย์ ดร.ณัธีร์ ศรีดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
  "สำหรับผลการดำเนินการวิจัยชุดแรกเรื่อง "อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทย" มีสรุปผลการวิจัยอย่างชัดเจนว่า "อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีต่อพระพุทธศาสนาไทยมีหลายด้าน ทั้งด้านความเชื่อ ด้านศิลปกรรม ด้านวรรณกรรม และด้านพิธีกรรม แต่ละด้านได้สะท้อนให้เห็นถึงความมีอยู่จริง ตลอดจนแสดงถึงความสำคัญและอิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอย่างชัดเจน จนกลายเป็นอัตลักษณ์หนึ่งของความ

เชื่อที่ปรากฏให้เห็นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ศิลปกรรม และด้านประเพณี "จากแนวการศึกษาวิจัยชุดแรกที่ประเทศไทยได้สำเร็จลงแล้ว ได้วางแผนลงพื้นที่วิจัยที่ ลาว กัมพูชา เมียนมา และเวียดนาม โดยมีเป้าหมายนำองค์ความรู้ "ความเชื่อเรื่องพญานาค" ยกระดับให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง และขอขึ้นทะเบียนรายการต่อองค์การยูเนสโกร่วมกัน 5 ประเทศ ไทย ลาว กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม นี่คือความฝันของพวกเรา ที่จะสร้างประวัติศาสตร์ของชาวพุทธลุ่มน้ำโขงที่มีมรดกโลกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมร่วมกัน"

 

  สำหรับแผนการวิจัยหัวข้อ "อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนในลุ่มแม่น้ำโขง" นั้น ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากมูลนิธิวีระภุชงค์ นางสาวทิพย์วรรณ วีระภุชงค์ กรรมการมูลนิธิวีระภุชงค์ กล่าวว่า "รู้สึกปลื้มปิติและยินดีอย่างยิ่งที่มีโอกาสสนับสนุนทุนวิจัยให้กับงานที่ทรงคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อการปกป้องและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของมูลนิธิวีระภุชงค์ คือ มุ่งทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมคุณธรรมให้กับคนในสังคมมีความสุขและพบกับความเจริญในชีวิต ในโอกาสนี้ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้

"สถาบันโพธิคยาวิชชาลัยฯ" ผลักดันความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

  และขอสนับสนุนแผนการวิจัยหัวข้อ "อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในลุ่มแม่น้ำโขง" ที่จะลงพื้นที่ศึกษาที่ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมา ต่อไป เชื่อมั่นว่าเมื่องานวิจัยนี้สำเร็จครบสมบูรณ์ จะมีข้อมูลและองค์ความรู้ที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม จนสามารถผลักดันความฝันที่จะนำเรื่องนี้ยกระดับขึ้นสู่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงร่วมกัน 5 ชาติ สำเร็จดังความตั้งใจ"

 

   นางสาวทิพย์วรรณ วีระภุชงค์ กรรมการมูลนิธิวีระฎชงค์ กล่าวว่า"อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาค สู่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" ในนามมูลนิธิวีระภชงค์ รู้สึกปลื้มปิติและยินดีอย่างยิ่งที่มีโอกาสสนับสนุนทุนวิจัยให้กับงานที่ทรงคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อการปกป้องและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่ง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของมูลนิธิวีระกุชงค์ คือ มุ่งทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมคุณธรรมให้กับคนในสังคมมีความสุขและพบกับความเจริญในชีวิต

"สถาบันโพธิคยาวิชชาลัยฯ" ผลักดันความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
  ในโอกาสนี้ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ และขอสนับสนุนแผนการวิจัยหัวข้อ"อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในลุ่มแม่น้ำโขง" ที่จะลงพื้นที่ศึกษาที่ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมาต่อไป เชื่อมั่นว่าเมื่องานวิจัยนี้สำเร็จครบสมบูรณ์ จะมีข้อมูลและองค์ความรู้ที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม จนสามารถผลักดันความฝันที่จะนำเรื่องนี้ยกระดับขึ้นสู่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงร่วมกัน 5 ชาติ สำเร็จดังความตั้งใจขอกราบขอบพระคุณทุกท่านค่ะ

"สถาบันโพธิคยาวิชชาลัยฯ" ผลักดันความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

  ความเชื่อเรื่องพญานาค : การยกระดับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยสู่นานาชาติและการเตรียมขอขึ้นทะเบียนรายการต่อองค์การยูเนสโก โดย นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมกล่าวถึงคำว่า "นาค " พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง งูใหญ่ที่มีหงอน เป็นสัตว์ในนิยายมักเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยหลากหลายรูปแบบ เนื่องจาก "นาค" หรือ "พญานาค" เป็นสิ่งที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ช่วยให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ดังจะเห็นได้จากงานศิลปวัฒนธรรมแขนงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านวรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม เป็นต้น โดยในขณะนี้คณะกรรมการวัฒนธรรม
แห่งชาติ (กวช.) มีมติเห็นชอบเสนอให้ "นาค" เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนาน เนื่องจาก "นาค"มีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตและดำรงอยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนานและเกี่ยวข้องกับสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์

 

   หากพิจารณาถึงอัตลักษณ์ของสังคมอีสาน โดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ำโขง ส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรมจึงทำให้มีการดำรงชีวิตผูกพันกับเรื่องราวของ "พญานาค" และพบว่ามีการผสมผสานความเชื่อเรื่อง "พญานาค"เข้ามาอยู่ในบริบทของพระพุทธศาสนา จนทำให้เชื่อว่า "พญานาค" มีอยู่จริงและเป็นผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา

"สถาบันโพธิคยาวิชชาลัยฯ" ผลักดันความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
  ส่งผลให้ "พญานาค" นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพที่คอยปกปักรักษาพุทธสถาน และการเคารพศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนเสมอมา ดังปรากฎความเชื่อดังกล่าวผ่านประเพณีและงานบุญต่าง ๆ ในฮีตสิบสอง รวมถึงเรื่องเล่าในลักษณะตำนานพื้นบ้านและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีการสืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็นมรดกภูมิปัญญาอีสานด้วยเหตุนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับนานาชาติ
และเนื่องจากประเทศไทยเป็นภาศีสมาชิกภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ค.ศ.2003 ขององค์การยูเนสโก จึงทำให้มีข้อผูกพันต่ออนุสัญญา ฯ ด้วยการดำเนินมาตรการเพื่อปกป้องคุ้มครอง มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (สำหรับประเทศไทยจะเรียกว่า "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม") ที่อยู่ในอาณาเขตของตน

 

  โดยให้ชุมชน กลุ่มคน และองค์กรที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมด้วยแนวทางหนึ่งตามมาตรการข้างต้น คือ การประกาศให้เป็นรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม(ระดับจังหวัด) และการขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศไทย (ระดับชาติ) อันจะนำไปสู่การเป็นประจักษ์พยานหลักฐานหรือสิ่งยืนยันว่าความเชื่อเรื่อง "พญานาค" ถูกนำไปใช้ในการปฏิบัติหรือดำเนินชีวิตจริง

  หรือมีการนำไปผูกโยงเข้ากับวิถีชีวิตจนทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเตียวของสมาชิกในสังคม นำไปสู่ความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพื้นที่ส่วนการขอขึ้นทะเบียนรายการต่อองค์การยูเนสโกนั้น ถือเป็นสิ่งยืนยันการมีส่วนร่วมของประเทศไทยที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างการรับรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง "พญานาค"เพื่อให้เกิดความเข้าใจการยอมรับ ชื่นชม และยกระดับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยสู่นานาชาติ ซึ่งจะช่วยให้มีการสืบสานและถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่อง "พญานาค"ของประเทศไทย

ให้มีประสิทธิภาพเข้มแข็งยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ความเชื่อเรื่อง "พญานาค" บริเวณภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนั้นมีอยู่ในหลายประเทศ ก็จะสามารถขอขึ้นทะเบียนต่อองค์การยูเนสโก เพื่อเป็นมรดกร่วมกันในอนาคตได้ดังนั้น กระบวนการในเบื้องต้นจึงจำเป็นต้องสำรวจและจัดเก็บข้อมูลรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่อง "พญานาค" ในทุกพื้นที่ของประเทศ

"สถาบันโพธิคยาวิชชาลัยฯ" ผลักดันความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

   โดยจำแนกหมวดหมู่ข้อมูลตามประเภทหรือสาขามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เช่น ตำนาน ประเพณี เทศกาล เป็นต้น พร้อมเรียบเรียงข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นสาระทางวัฒนธรรมมากกว่าเรื่องของความเชื่อ และแม้ว่าในหลายพื้นที่จะมีความเชื่อเรื่องอ"พญานาค" คล้ายคลึงกัน ก็สามารถจัดทำเป็นข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

 

   และเสนอขึ้นบัญชีระดับชาติต่อกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกันได้ นอกจากนี้ในกรณีที่ความเชื่อเรื่อง "พญานาค" มีจำนวนมากและหลากหลายสักษณะ ก็สามารถจัดทำเป็นข้อมูสมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในภาพรวมได้ เช่นเดียวกัน เช่น วิถีชีวิตคนพุทธอีสานที่ผูกพันกับความเชื่อเรื่องพญานาค เป็นต้น

Related posts

© Copyright 2018, All Rights Reserved