Trending News

Blog Post

ฮือฮา! เครื่องสำอางแบรนด์ดัง ประสบปัญหาธุรกิจ หนี้ท่วม ยื่นล้มละลาย
ต่างประเทศ

ฮือฮา! เครื่องสำอางแบรนด์ดัง ประสบปัญหาธุรกิจ หนี้ท่วม ยื่นล้มละลาย 

กลายเป็นที่ฮือฮาสำหรับใครที่เป็นสายแต่งหน้า ต้องรู้จักกันดีกับเครื่องสำอางแบรนด์ดัง เรฟลอน (REVLON) ที่มีมายาวนานกว่า 90 ปี ล่าสุด ก็มีรายงานข่าวว่า เรฟลอน อิงค์ ยื่นพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลล้มละลายในรัฐนิวยอร์ก เมื่อวันพุธ 15 มิ.ย. 65 ที่ผ่านมา เนื่องจากประสบปัญหาซัพพลายเชน หนี้ปริมาณมาก และการแข่งขันจากคู่แข่งในตลาด

 

ตามรายงานระบุว่า บริษัท REVLON ได้ยื่นล้มละลายใน มาตรา 11 ของกฎหมายล้มละลายแห่งสหรัฐ  ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับซัพพลายเชนและปัญหาเงินเฟ้อ ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ยอดขายลดลงและผลกำไรไม่เพียงพอ ทำให้บริษัทมีสินทรัพย์พร้อมหนี้สินสูงถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นเงินมหาศาล

ซึ่ง บริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอาง ยังเผยอีกว่า การยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ครั้งนี้จะได้รับเงิน 575 ล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 20,200 ล้านบาท เพิ่มเติมจากผู้ปล่อยกู้รายปัจจุบัน เพื่อทำให้การบริหารงานแบบวันต่อวันดำเนินต่อไปได้เช่นเดิม เรฟลอนล้มละลาย

ทางด้าน เดบรา เพอเรลแมน ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของเรฟลอน อิงค์ เผยว่า ความต้องการสินค้าของเรฟลอนจากผู้บริโภคยังคงสูง แต่สาเหตุที่ทำให้บริษัทมาอยู่ในจุดนี้ที่มีหนี้มหาศาลเป็นเพราะโครงสร้างทางการเงินในขณะนี้ที่มีความท้าทาย REVLOล้มละลาย

เครื่องสำอางแบรนด์ดัง ประสบปัญหาธุรกิจ หนี้ท่วม ยื่นล้มละลาย

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

 

นอกจากนี้ เรฟลอน อิงค์ ยังต้องเผชิญกับคู่แข่งทั้งที่เป็นบริษัทใหญ่ อย่าง พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล และเครื่องสำอางจากแบรนด์ของคนดัง อย่างเช่น แบรนด์ ไคลี่ ของไคลี เจนเนอร์ และเฟนตี บิวตี้ ของอดีตนักร้องชื่อดัง ริฮานนา ที่ไม่ต้องใช้เงินในการทำการตลาดมาก เพราะมีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียจำนวนมากอยู่แล้ว

โดยยอดขายของเรฟลอนยังถูกซ้ำเติมด้วยการแพร่ระบาดของโรคโควิด ที่เกิดการล็อกดาวน์ในหลายพื้นที่ทั่วโลก ที่ทำให้การจับจ่ายในศูนย์การค้าซบเซา ขณะเดียวกันกลุ่มผู้บริโภคต้องสวมหน้ากากอนามัย ส่งผลให้ยอดขายลิปสติกลดลงอย่างหนักถึง 21% มาอยู่ที่ 1,900 ล้านดอลลลาร์เมื่อปี 2563 ก่อนฟื้นตัว 9.2% มาอยู่ที่ 2,080 ล้านดอลลาร์เมื่อปี 2565

เครื่องสำอางแบรนด์ดัง ประสบปัญหาธุรกิจ หนี้ท่วม ยื่นล้มละลาย

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

โดยตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา เรฟลอน และแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลก ก็เผชิญกับการขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าที่ป้อนเข้าสู่ระบบการผลิต ปัญหาต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และการขาดแคลนแรงงาน

ภาระหนี้ของบริษัทได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นภาระหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่บริษัทขายเงินกู้และพันธบัตรมูลค่ากว่า 2 พันล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นเงินทุนในการเข้าซื้อกิจการของ Elizabeth Arden ในปี 2016 บริษัทยังเป็นเจ้าของแบรนด์ต่างๆ เช่น Cutex และ Almay และตลาดในกว่า 150 ประเทศ 

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ชี้แจงเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไป การแบ่งส่วนทางการตลาดจึงมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ยอดขายของ REVLON จึงค่อยๆ ลดลงและทำให้บริษัทขาดทุนในที่สุด

 

Related posts

© Copyright 2018, All Rights Reserved